วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง "ถ่านป่นคืนชีพ"


โครงงานเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่อง ถ่านป่นคืนชีพ
 
 

 

 

           

จัดทำโดย

                              ๑. ด.ช.สุรศักดิ์  ออมสิน

                                         ๒. ด.ช.วงศกร  สุขใส

                                               ๓. ด.ช.สรรเพ็ชร   บุตรเพชร

                                               ๔. ด.ช.เกียรติศักดิ์  พุทธรัตน์ 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

 

ครูที่ปรึกษา 

นางอุษา  จรรยา

 

   โรงเรียนบางระกำ

     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก  เขต ๑

     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

   

บทคัดย่อ

โครงงานสังคมศึกษา เรื่อง ถ่านป่นคืนชีพ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการนำผงถ่าน และเถ้าเผาถ่าน ที่นำมาทิ้งไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว และกองทิ้งไว้ในที่ต่างๆ ซึ่งพวกเรารู้สึกเสียดายสามารถนำผงถ่าน เศษถ่านเหล่านี้ นำกลับมาใช้ประโยชน์ น่าจะสร้างรายได้ หรือประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ และ เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการศึกษาโครงงาน พบว่าถ่านป่นซึ่งทิ้งไปก็ไร้ค่านั้นสามารถนำกลับมาทำให้เกิดประโยชน์ได้ และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
กิตติกรรมประกาศ

 การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก คุณครูอุษา  จรรยา ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง

ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครูโรงเรียนบางระกำ ที่อนุเคราะห์และอำนวย

ความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล

ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่ให้กำลังใจด้วยดีเสมอมา

ขอขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ

คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดาบูรพาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน

                                                                                                             

  ผู้จัดทำ

 บทที่ ๑

 บทนำ

๑. ที่มาและความสำคัญ

         จากการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ได้แนวคิดในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระราชทานให้ปวงชนชาวไทยนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตนั้น  จึงทำให้เกิดความคิดที่จะนำเศษผงถ่าน และเถ้าเผาถ่าน ที่นำไปทิ้งไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว และกองทิ้งไว้ในที่ต่าง ๆ ตามบ้านเรือน นำกลับมาใช้ประโยชน์ น่าจะสร้างรายได้ หรือประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้
  

                จากเหตุผลดังกล่าว คณะผู้ศึกษาจึงทำโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ถ่านป่นคืนชีพ ขึ้น

๒. วัตถุประสงค์
. เพื่อศึกษา ทดลองนำถ่านป่นมาดัดแปลงให้เป็นของใช้ที่มีประโยชน์

.  เพื่อประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำรงชีวิต

บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
     เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน โดยยึดหลัก ทางสายกลางท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน สรุป ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

1.            ความมีเหตุผล คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความพอเพียงต้องใช้เหตุผล และพิจารณาด้วยความรอบคอบ

2.            ความพอเพียง คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอกิน พอใช้ ประหยัด และไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น

3.            การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ เตรียมใจให้พร้อมรับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4.            การมีความรู้ คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต

5.            การมีคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     ดิน คือวัสดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ ตลอดจนการสลายตัว

ของซากพืชและสัตว์ ผสมคลุกเคล้ากัน โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม เช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ และระยะเวลาในการพัฒนาที่แตกต่างกัน เกิดเป็นดินหลากหลายชนิด ปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยวและเจริญเติบโตของพืช รวมถึงเป็นแหล่งน้ำและอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน

ดินเหนียว

     ในบรรดาวัตถุดิบทั้งหลายที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิก โดยเฉพาะหัตถกรรพื้นบ้าน อาทิ หม้อ ไห กระถาง อิฐ นั้น ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

     ดินเหนียว เป็นดินที่เกิดจากตะกอนที่พัดพามาทับถมกัน ธรรมชาติของดินเหนียว จะประกอบด้วยแร่เคโอลิไนต์ (kaolinite) เป็นส่วนใหญ่ โดยแร่เคโอลิไนต์ที่พบในดินเหนียว มักมีผลึกที่ไม่สมบูรณ์และมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังพบแร่ดินชนิดอื่นๆ อาทิ มอนมอริลโลไนต์ (monmorillonite) อิลไลต์ (illite) ควอร์ทซ์ (quartz) แร่ไมกา (mica) แร่เหล็กออกไซด์ (iron oxide) รวมทั้งมักมีสารอินทรีย์ปะปนอยู่เสมอ ดินเหนียวมีสีต่างๆ เกิดจากการมีแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ            ในปริมาณที่แตกต่างกัน อาทิ สีดำ เทา ครีม และน้ำตาล ดินเหนียวที่มีสีเทาหรือดำนั้น จะมีอินทรีย์วัตถุปนมาก ส่วนดินเหนียวสีครีมหรือน้ำตาล มาจากแร่เหล็กที่ปะปนอยู่

     ดินเหนียวมีสมบัติเด่นในการนำมาขึ้นรูปคือ มีความเหนียว และเมื่อแห้งมีความแข็งแรงสูง ทำให้ผลิตภัณฑ์หลังแห้งมีความแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อแห้ง ดินเหนียวมักมีการหดตัวสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีการแตกร้าว ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้เนื้อดินเหนียวล้วนๆ ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ แต่ต้องมีการผสมวัสดุที่ไม่มีความเหนียว อาทิ ดินเชื้อ หรือทราย เพื่อลดการดึงตัวและหดตัว ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าว เนื่องจากการหดตัวของดินได้ ดินเหนียวหลายชนิด มีช่วงอุณหภูมิที่จะเปลี่ยนไปเป็นเนื้อแก้วกว้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ คือ ช่วยปรับปรุงเนื้อผลิตภัณฑ์หลังการเผาให้ดีขึ้น ในการใช้ประโยชน์จากดินเหนียวนั้น นอกจากใช้เป็นเนื้อดินปั้นสำหรับหัตถกรรมพื้นบ้านแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ผสมกับดินขาว เพื่อเพิ่มความเหนียว หรือช่วยให้น้ำดินมีการไหลตัวดีขึ้น

     ในปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งดินเหนียวอยู่หลายแหล่ง ที่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเซรามิก อาทิ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี ลำปาง เชียงใหม่ นอกเหนือจากนี้ ดินเหนียวที่มีอยู่ในแหล่งพื้นบ้านทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดินเหนียวจะมีอยู่ในหลายพื้นที่ก็ตาม การนำดินเหนียวจากแหล่งต่างๆ มาใช้ก็ควรใช้อย่างมีคุณค่า และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเมื่อดินเหนียวหมดไปแล้วก็จะต้องใช้เวลานานเป็นร้อยล้านปี กว่าที่จะมีการทับถมเพื่อให้เกิดทดแทนใหม่ได้

กาวแป้งเปียก

            แป้งเปียก คือ แป้งมันสำปะหลังกวนกับน้ำบนเตาไฟให้เหนียวสีใสๆใช้แทนกาว สมัยก่อนกาวแป้งเปียกนิยมมาก เพราะยังไม่มีกาวขายมากมายจนเลือกไม่ถูกเหมือนปัจจุบัน  แต่ปัจจุบันยังคงมีการใช้กาวแป้งเปียกนี้อยู่  เนื่องจากประหยัด ราคาถูก  สามารถทำเองได้ง่าย

ประวัติความเป็นมาของกระดาษ
             กระดาษ(Paper) คำว่า กระดาษ ตรงกับคำว่า Paper ในภาษาอังกฤษ และคำว่า Paper มีรากศัพท์

มาจาก คำว่า Papyrus อันเป็นภาษากรีก ซึ่งเรียกว่าวัสดุสำหรับใช้เขียนที่ชาวอียิปต์ได้คิดขึ้นในภาษาไทย คำว่า กระดาษนั้นไม่ใช่คำไทย แต่สันนิษฐานว่าเป็นคำที่แปลงมาจากภาษาโปรตุเกสว่า Cartas เข้าใจว่าโปรตุเกสคงเป็นผู้นำกระดาษแบบฝรั่งเข้ามาก่อนในสมัยอยุธยา คำว่ากระดาษจึงมีใช้ติดปากมาตั้งแต่สมัยนั้น (กำธร สถิรกุล,๒๕๑๕:๒๗๗)ชาวอียิปต์โบราณได้นำ ต้นปาปิรัส (Papyrus) ซึ่งเป็นต้นกกน้ำชนิดหนึ่ง มาใช้เป็นวัสดุในดารเขียนหนังสือเป็นเวลากว่า ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ในสมัยต่อมาชาติกรีกและโรมันได้หันมานิยมจารึกตัวหนังสือลงบนแผ่นหนังสัตว์ กรรมวิธีในการทำกระดาษปาปิรัสของอียิปต์นั้น กระทำโดยการจัดวางต้นกกปาปิรัสให้เป็นแนวขวางขัดกันและนำมาบทอัดจนแน่นพร้อมทั้งทำให้แห้งโดยการตากแดด ซึ่งกระบวนการการผลิกระดาษสำหรับใช้เขียนหนังสือ ในยุคโบราณก็ได้ถูกเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านวัสดุและวิธีการให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้นจนถึงสมัยปัจจุบัน

               ถึงแม้คำว่า Paper จะมาจาก Papyrus แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ได้ประดิษฐ์กระดาษอย่างแท้จริงกลับได้แก่ชาติจีน เมื่อ ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ไซลั่น นักประดิษฐ์ชาวจีนได้นำเศษแหเก่าๆ เศษผ้าขี้ริ้ว ตลอดจนเศษพืช นำมาต้มและทุบให้เปื่อย เมื่อนำมารวมกับน้ำก็จะเป็นเยื่อกระดาษ (Pulp) นำเยื่อกระดาษ ดังกล่าวมาเกลี่ยบน ตระแกรงตามแนวนอนปล่อยให้น้ำไหลออกจากตระแกรงแล้วนำมาบทอัดให้แห้ง ('Paper',๑๙๘๑:๑๐๑)  ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างกระดาษปาปิรัสกับกระดาษในปัจจุบัน ก็คือ ในสมัยอียิปต์เส้นใยของต้นปาปิรัสจะถูกฝานจนเป็นแผ่นบางแล้วนำมาเรียงขวางสลับกันแต่กระดาษในปัจจุบัน เยื่อกระดาษจะถูกนำมาย่อยจากเส้นใยของพืชและเส้นใยเหล่านี้จะถูกวางอย่างไม่เป็นระเบียบ ซึ่งจะมีผลทำให้กระดาษมีความเหนียวกว่าแต่ก่อน เทคนิคการผลิตกระดาษนี้แพร่หลายจากจีนไปสู่ยุโรปตะวันตกโดยผ่านอาหรับ แต่อาหรับไม่ส่งเสริมการพิมพ็ ดังนั้นกว่าที่เทคนิคการผลิกระดาษจะเข้าสู่ยุโรปก็เป็นสมัยยุคกลางตอนปลาย  และเมื่ออังกฤษได้เริ่มตั้งโรงงานผลิตกระดาษขึ้นรั้งแรกที่เมือง Herfordshireใน ปี ค.ศ.๑๔๙๐ กระดาษก็ได้ทำหน้าที่แพร่ขยายวรรณกรรมออกไปอย่างกว้างขวาง และความต้องการต้องการการใช้กระดาษแม้ว่าในทุกวันนี้เยื่อกระดาษจะสามารถจะผลิตจากวัสดุได้หลายชนิด และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิตกระดาษจะสมบูรณ์ขึ้นเพียงไร แต่หลักการพื้นฐานของการผลิตกระดาษก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ในปัจจุบัน แม้จะมีกระดาษนัได้หลายพันชนิด

 การใช้ประโยชน์จากถ่านไม้

ผลผลิตถ่านไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่หลายท่านเข้าใจกันเพียงแต่นำไปใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือนเท่านั้น ในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตถ่านไม้อย่างล้ำหน้าจะสามารถผลิตถ่านขาวหรือ White Charcoal เพื่อใช้ถ่านขาวในเชิงเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ เช่น ใช้ถ่านขาวใส่ลงในกาต้มน้ำร้อนเพื่อทำน้ำแร่ เพราะถ่านชนิดนี้จะละลายแร่ธาตุ

ต่าง ๆ ออกมาเพิ่มคุณภาพและรสชาติของน้ำร้อน ใช้ชงกาแฟหรือจะใช้ผสมเหล้าวิสกี้ก็จะได้รสชาติที่นุ่มละมุน นี่เป็นตัวอย่างการใช้ถ่านแบบพิเศษในต่างประเทศ ในบ้านเรา ผลผลิตถ่านส่วนใหญ่จะเป็นถ่านดำทีผลิตภายใต้อุณหภูมิต่ำซึ่งไม่เหมาะจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ปิ้ง ย่างอาหาร แต่ถ่านดำได้เปรียบกว่าถ่านบริสุทธิ์ตรงที่ผลิตได้จำนวนมากกว่า ซึ่งเหมาะแก่การนำไปใช้ทำเชื้อเพลิงอื่น ๆ ที่ไม่เป็นการประกอบอาหารโดยตรง เช่น ใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหิน

ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมักจะมีค่ามลพิษที่สูงมาก แต่อย่างไรก็ดี ถ่านดำที่ผลิตด้วยอุณหภูมิสูงที่เราเรียกว่าถ่านบริสุทธิ์นั้น หากมีปริมาณผลผลิตที่มากพอและคงที่ ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์หลากหลายทั้ง   ในครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรมได้ ตามรายงาน ของชมรมสวนป่า ผลิตภัณฑ์และพลังงานจากไม้ ดังนี้

1)           การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม        ถ่านบริสุทธิ์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมี

ต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดซัลไฟด์ (Carbondisulpide), โซเดียมไซยาไนด์ (Sodium Cyanide) ซิลิคอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide) หรือถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) เป็นต้น   ถ่านกัมมันต์ ที่ได้จากถ่านไม้ที่มีค่าคาร์บอนเสถียรสูง (High Fixed Carbon) ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอีกหลากหลาย อาทิใช้ในระบบกรองและบำบัดอุตสาหกรรมน้ำดื่ม ระบบผลิตน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์จากคาร์บอนในอุตสาหกรรมโลหะหรือใช้ขี้เถ้าเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ ให้แข็งตัวช้า และมีความแข็งแกร่งขึ้น ฯลฯ

2)           คุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นและความชื้นของถ่าน   เป็นที่รับรู้กันดีแล้วสำหรับผู้อ่าน แต่ใน

ต่างประเทศ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องประดับจากถ่านเพื่อใช้ประโยชน์ในบ้านเรือนได้รับความนิยมมาก คนญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างของผู้ที่มองเห็นคุณประโยชน์ของถ่านอย่างชัดเจน
การใช้ถ่านเพื่อทำหน้าที่ลดกลิ่นในห้องปรับอากาศ มีประสิทธิภาพที่ดีมาก ในห้องแอร์ ที่ทำงานหรือในรถ โดยเฉพาะที่ที่มีผู้สูบบุหรี่ หรืออาจจะมีเชื่อจุลินทรีย์ ควรนำถ่านไม้ไปวางดักไว้ที่ช่องดูดอากาศกลับของเครื่องดูดอากาศ รูพรุนและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในถ่านไม้จะดูดซับกลิ่นและเชื้อโรคต่าง ๆ เอาไว้ ช่วยลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้อย่างดี หรือจะใช้ถ่านเพื่อการบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือน ก่อนปล่อยสู่ท่อระบายสาธารณะก็ยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

3)           ในภาคการผลิตเชิงเกษตร การนำถ่านไม้มาใช้ประโยชน์นับว่ามีคุณค่าที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่อง

ว่าถ่านมีคุณสมบัติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อพืชและสัตว์จึงสามารถใช้ทดแทนสารเคมีราคาแพงได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพไม่แพ้กันทีเดียว
        -
ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ถ่านไม้จะมีรูพรุนมากมาย เมื่อใส่ถ่านป่นลงในดินจะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดีขึ้นส่งผลให้รากพืชขยายตัวอย่างรวดเร็วช่วยลดการใช้ปุ๋ยเพราะสมบัติต่าง ๆ ของจุลธาตุที่มีอยู่หลายชนิดในแท่งถ่าน จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืชที่ปลูก
        -
ถ่านไม้ที่นำมาใช้ปรับปรุงดินควรเป็นเศษถ่าน ขนาดไม่เกิน ๕ มม. โดยอาจจะเป็นถ่านแกลบหรือถ่านชานอ้อย แต่ควรระวังขี้เถ้าซึงมีฤทธิ์เป็นด่างสูงเพราะพืชก็ไม่ชอบดินที่มีค่าเป็นด่างสูงควรรักษาค่าเป็นกรดด่างของดินไว้ที่ pH ..
         -
ช่วยรักษาผลผลิตให้สดนานขึ้น ผักและผลไม้จะมีกลไกผลิตก๊าชเอธิลีน (Ethyline) เพื่อทำให้ตัวเองสุก เราสามารถรักษาผลผลิตให้สดนานขึ้นโดยใส่ผงถ่านลงในกล่องบรรจุเพื่อดูดซับก๊าชดังกล่าวไว้ไม่ให้ออกฤทธิ์ผักผลไม้จะยังคงสดอยู่ได้นานถึง ๑๗ วัน โดยไม่เสียหายหรือสุกงอม ปัจจุบันได้มีการนำผงถ่านกัมมันต์ผสมลงในกระดาษที่ใช้ทำกล่องบรรจุผลผลิตเพื่อการนี้แล้ว
         -
ถ่านแกลบหรือถ่านชานอ้อย ใช้ทดแทนแกลบรองพื้นคอกสัตว์ซึ่งราคาถูกและหาง่ายพอ ๆ กัน เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนและก๊าซต่าง ๆ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเครียดในสัตว์ส่งผลให้สุขภาพและผลผลิตจากปศุสัตว์มีคุณภาพดีขึ้น
         -
ใช้ผสมอาหารสัตว์ นำผงถ่านผสมในอาหารสัตว์ด้วยอัตราส่วนเพียง ๑ % ถ่านจะช่วยดูดซับก๊าซในกระเพาะและลำไส้ ช่วยลดอาการท้องอืดเนื่งอจากปริมาณน้ำในอาหารสูงเกินได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
         -
ปรับปรุงคุณภาพแหล่งน้ำ นำถ่านไม้ใส่กระสอบ (ในปริมาณที่สอดคล้องกับประมาณแหล่งน้ำ) ไว้ที่ก้นบ่อ และจัดให้มีการไหลเวียนน้ำบริเวณกระสอบถ่านนั้น เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ในน้ำจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ทีอยู่ในรูพรุนของถ่าน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำในบ่อเลี้ยงปลาหรือกุ้งได้ เช่นกัน จากแหล่งเดียวกัน ในประเทศญีปุ่นมีการใช้ประโยชน์จากถ่านไม้และน้ำส้มควันไม้กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จนถือว่าถ่านเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ดีเยี่ยม มีปริมาณการใช้ในภาคเกษตรไม่น้อยกว่า ปีละ ๕๐,๐๐๐ ตัน

จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้ติดตามกันมา ทำให้เราได้เห็นถึงประโยชน์อันมากมายของถ่านไม้แท่งดำดำ ที่เคยดูเหมือนจะมีค่า แค่เพียงเป็นฟืนหุงข้าวของคนโบราณ แต่หากเรารู้จักการนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ และเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของมัน ถ่านไม้ที่ได้จากวัตถุดิบไม้ฟืนที่มีอยู่มากมายในประเทศ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อระบบการผลิตในหลายแขนง อย่างน่าทึ่งที

  

บทที่ ๓
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการดําเนินการ

 วัสดุอุปกรณ์

.   ผงถ่านหรือถ่านป่น             กิโลกรัม

.  ถังน้ำหรือกะละมัง                ใบ

.  ดินโคลน หรือดินเหนียว     ครึ่งกิโลกรัม

.  แป้งมัน                                ๒ ช้อนโต๊ะ

.  น้ำเปล่า                                ๒ แก้ว

.  หม้อ

.  เตาไฟฟ้า

. กระดาษสมุดเก่าที่ใช้งานแล้วแช่น้ำให้เปื่อย

วิธีการดำเนินงาน
. ศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับการทำถ่านดินเหนียว
. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
.  นำผงถ่านหรือเศษถ่านที่ใช้ไม่ได้แล้ว ใส่ในถังหรือกะละมัง  นำดินเหนียว  กาวแป้งมัน

     ผสมกับเศษถ่านหรือผงถ่าน ในอัตราส่วน ดิน  ๑ ส่วน ต่อถ่าน ๒ ส่วน และกาวแป้งมันเล็กน้อย 

     ผสมให้เข้ากัน

๔.  นำไปอัดใส่ในท่อ พีวีซีที่มีความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๒ นิ้ว  ความยาวท่อประมาณ

     ๘ - ๑๐ นิ้ว แล้วแต่ขนาด  จากนั้นดันออกมาวางเรียง  ตัดให้เป็นท่อนยาวประมาณ ๓ นิ้ว    หรือ

     ใช้มือปั้นวางเป็นก้อน ๆ ขนาดพอประมาณเท่าถ่านก้อนที่ใช้กันตามปกติก็ได้

๕.  นำถ่านที่ผสมแล้ว ตากแดดไว้ประมาณ ๑ อาทิตย์

๖.  แกะถ่านที่แห้งสนิทแล้ว นำไปใช้งานในการหุ้มต้มได้

 

บทที่ ๔

                                                            สรุป อภิปรายผล

สรุป อภิปรายผล
          จากผลการทดลองและจัดทำ จึงสรุปได้ว่าการนำถ่านป่นซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้ ไร้คุณค่า สามารถนำมาใช้ประโยชน์หุงต้มได้จริง ในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง และเมื่อทดลองติดไฟแล้ว สามารถ

ติดไฟได้   ให้ไฟแรงและนานพอ ๆ กับถ่านก้อน ส่วนผสมของดินเหนียวที่ใช้ไม่ควรมากเกินไป เพราะจะทำให้เวลาก่อไฟแล้วทำให้ถ่านติดไฟยาก หากเปลี่ยนวัสดุจากดินเหนียวเป็นกระดาษผสมกับกาวแป้งเปียก จะทำให้ถ่านติดไฟได้ง่ายกว่า  และถ้าหากทุกครัวเรือนทำกันไว้ใช้ก็จะนำมาซึ่งความประหยัด ลดการตัดไม่ทำลายป่าในการเผ่าถ่าน ช่วงลดภาวะโลกร้อนลงไปได้อีก

 

ข้อเสนอแนะ
            สามารถนำถ่านป่นมาต่อยอด ผสมกันสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่น เช่น ใบเตย ตะไคร้หอม แป้งมัน แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนตากแดด นำไปบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ใช้ดับกลิ่นอับในตู้เย็นหรือที่ต่าง ๆ ได้


ประโยชน์

               ๑.  ลดต้นทุนในการผลิต  เนื่องจากถ่านมีราคาสูงกว่า สามารถใช้แทนถ่านได้

               ๒.  ถ้าทำมาก ๆ สามารถเก็บไว้ใช้ได้ตลอดปี

               ๓.  ลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

               ๔.  ใช้วัสดุที่เหลือใช้มาแปรสภาพให้ใช้ประโยชน์ได้อีก

               ๕.  บางบ้านสามารถนำไปจำหน่ายได้

               ๖.  ลดรายจ่ายในการหาเชื้อเพลิงมาใช้ในครัวเรือน

 

การบูรณาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
. ความพอประมาณ 

การใช้วัสดุอุปกรณ์   เวลา ปริมาณในการจัดทำ ควรใช้อย่างพอดีไม่มากเกินหรือน้อยเกินไป

เน้นการประหยัดไม่สิ้นเปลือง หรือสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง มีความพอดีในทุกสิ่ง

 

. ความมีเหตุผล

          ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้  โดยนำของที่ไม่มีประโยชน์แล้วกลับมาทำให้เกิดประโยชน์ใช้สอยได้อีก ลดค่าใช้จ่าย  และเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ลดการตัดไม้ทำลายป่าลงได้  

 

. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

         ช่วยให้ครอบครัวเกิดการประหยัด ลดรายจ่าย ลดโลกร้อน

 

. เงื่อนไขความรู้

         มีความรู้และทักษะในการทำงานกลุ่ม  ความรู้ในการนำถ่านป่นมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ใช้สอย   มีความรู้ในวิธีการทำ  รู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต

 

. เงื่อนไขคุณธรรม

        -  ความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย   

        -  ความสามัคคีในการทำงาน

        -  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของเพื่อน ๆ ในห้องเรียน

        -  ความประหยัด

        -  ความเมตตากรุณาของคุณครู และผู้ปกครอง

        -  ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานให้สำเร็จ

        -  ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่มที่มีต่อกัน

        -  ความเสียสละเวลาความเป็นส่วนตัวมาปฏิบัติงานให้เสร็จทันกำหนด

        -  ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน ในการทำงาน  

 

 

 

 

     ภาคผนวก

 

 


 




 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 
 
   


 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ทดสอบการติดไฟแล้ว
สามารถติดไฟได้และให้ไฟแรง
 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


บรรณานุกรรม

 

ที่มา:หนังสือนิตยสารเทคโนโลยีเกษตรแนวใหม่, ปีที่๔ ฉบับที่๓๙ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖,

หน้า๖๒-๖๕

เวปไซต์   http://www.material.chula.ac.th/RADIO๔๕/May/radio๕-๓.htm

 

เวปไซต์  http://osl๑๐๑.ldd.go.th/easysoils/s_prop_text.htm

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1 ความคิดเห็น: